ประชาสัมพันธ์

กิจกรรม และงานโครงการต่างๆ ที่มัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา)
คุตบะฮฺวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566
เรื่อง การให้อภัยในคำสอนของอัลกรุอาน
โดย ผศ.ดร.อับดุลเลาะฮฺ หนุ่มสุข
(อิหม่ามประจำมัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา))
ณ มัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา) นานา
คุตบะฮฺวันศุกร์ ที่ 1 กันยายน 2566
ณ มัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา) นานา
หัวข้อ ดูแลครอบครัวด้วยอิสลาม
โดย ครูฮานาฟี หวังพิทักษ์
(คอเต็บประจำมัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา))
#ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศมัสยิดฯ
คุตบะฮฺวันศุกร์
เรื่อง บทบาทมัสยิดในการสร้างสังคม และอุทาหรณ์จากผึ้ง
ณ มัสยิดดารุ้ลอามีน (ศรีนครินทร์)
15 กันยายน พ.ศ. 2566
โดย ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข
(คณะกรรมการอิสลามกรุงเทพมหานคร)
(อิหม่ามมัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา))

 


 

YOUTUBE ของมัสยิดฯ
สามารถเข้าชมช่องยูทูป กดไลค์ กดแชร์

และติดตาม ช่องของมัสยิดฯ

โดยทางช่องจะมีการเพิ่ม VDO ต่างๆ

เช่น คุตบะฮ์, กิจกรรมของมัสยิดฯ,

โครงการต่างๆ ของมัสยิดฯ และชุมชนอยู่เสมอ


บริจาคเพื่อกิจกรรมต่างๆ ของมัสยิดฯ
  เพื่อใช้ในกิจกรรมที่มัสยิดฯ จัดขึ้นภายในชุมชน

และเพื่อบำรุงมัสยิดฯ ในด้านต่างๆ รวมถึงโครงการ

ที่มัสยิดฯ โดยโอนผ่านบัญชีธนาคารดังนี้

  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 075-1-05478-1 
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ - 392-232154-8 
  • ธนาคารกสิกรไทย 009-1-15369-6 
  • ธนาคารกรุงไทย 677-7-50442-7 

ชื่อบัญชี มัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (คลองสามวา)

_______________________________________________________

ติดต่อสอบถามได้ที่

โทร. 081-331-1611 อิหม่าม ผศ.ดร.อับดุลเลาะ  หนุ่มสุข

     081-557-5742 คอเต็บ ฮานาฟี  หวังพิทักษ์

     099-392-8342 ครูปทุมรัตน์  หวังพิทักษ์

     089-508-9918 ครูรอมลี  สมันนะ

image
วีดีโอ เกี่ยวกับมัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา)

กรุบ่าน 6 ตัว จากประเทศคูเวต

ตัวที่ 1 จากคุณมัรยัม มูฮัมหมัด อัสซุวัยเล็ม

ตัวที่ 2 จากคุณซอและห์ อัลอันซี่ แทนจากพ่อแม่ของเขา และพ่อของพ่อแม่ของเขา

ตัวที่ 3 จากคุณซอละห์ อับดุลเลาะห์ อุสมาน อัสซอและห์

ตัวที่ 4 จากคุณอับดุลเลาะห์ อัส ซับตี และผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

ตัวที่ 5 จากคุณอับดุลเลาะห์มาน อัล ฮะซัน และ คุณไฟซอล อัลเอาฎี้ และ

คุณอิบรอฮีม อัลนามี และคุณอาลี อัลอัสตาด, คุณซอและห์ อัล อุซฟูร,

คุณคอลิด อัลอะรอดะห์ คุณซุลตอน อัล ฮาซัน ตัวที่ 6 จากคุณมาซาอิล อุมมฺมูฮัมหมัด อัลอัลซี

ขออัลเลาะหฺ (ซ.บ.) ได้ตอบรับความดีอันนี้ ที่พวกเขาได้ร่วมบริจาคกันมา

โดยองค์กร ญัมอียะห์ เอียะห์ยาอฺ ตุรอส อัลอิสลามมี่, และท่านเชคยาซีร อับดุรรอซาค อัลฮาซัน,

มูลนิธิอัลฟุรกอน เพื่อการอบรม และการเรียนรู้ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย เป็นผู้ประสานงาน

"โครงการอินทผลัมสัมพันธ์สร้างสรรค์พหุวัฒนธรรมฯ ๒๕๖๕ เดือนรอมฎอน​ ฮ.ศ.1443" 18​ เมษายน​ 2565​ คณะส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมฝ่ายมุสลิม​ ประกอบด้วย​ อิหม่าม​ ผศ.ดร.อับดุลเลาะ​ หนุ่มสุข​ ผู้อำนวยการสถาบันวะสะฏียะห์​เพื่อสันติภาพ​ และการพัฒนา​ สำนักจุฬาราชมนตรี​ , ฝ่ายส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม​ คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร​ , อิหม่ามประจำมัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา) นายสมัย​ เจริญช่าง​ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย​ อาจารย์มุฮัมหมัดเฟาซี​ แยนา เลขานุการสถาบันวะสะฏียะห์เพื่อสันติภาพ​ และการพัฒนา​ สำนักจุฬาราชมนตรี นายสันติ หะยีนาแว นายสำลี สมันนะ นายสมศักดิ์ กองเป็ง นางปทุมรัตน์ หวังพิทักษ์ นส.นิตยา วงษ์หวังจันทร์ (กรรมการกลางอิสลามประจำมัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา)) ได้เข้าเยี่ยมคารวะ​ เจ้าอาวาส​ 6​ วัด​ คือ 1.พระสิทธิสิงหเสนี​ (ดร.โสภณ​ สิงหเสนี)​ เจ้าอาวาสวัดพระยาสุเรนทร์​ 2.พระครูธำรงวงศ์วิสุทธิ์​ เจ้าอาวาสวัดสุทธิสะอาด 3.พระครูสถิตธรรมานุศาสก์ เจ้าอาวาสวัดแป้นทองโสภาราม​ 4.พระครูวิมลศาสนการ เจ้าอาวาสวัดลำกะดาน 5.เจ้าอาวาสวัดประชุมราษฎร์ 6.พระอาจารย์เบิร์ด เจ้าอาวาสวัดนังคัลจันตรี ในโอกาสเดือนรอมฎอน (เดือนแห่งการรักษาศีลปฏิบัติธรรมของชาวมุสลิม)​ คณะผู้เข้าเยี่ยม​ ได้ถวายอินทผลัม​ และวารสารมุสลิม​ กทม.นิวส์​ แก่ท่านเจ้าอาวาสทั้ง​ 6​ รูป​ พร้อมทั้งได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแนวคิดจะแก้ไขปัญหาสังคมที่ภูมิคุ้มกันทางจริยธรรมและศีลธรรมบกพร่อง​ และแนวคิดในการร่วมมือสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ศาสนิกชนที่จะสร้างความสมานฉันท์และศึกษาเรียนรู้ไปด้วยกันในสังคมพหุวัฒนธรรม​ พร้อมทั้งจะร่วมมือกันในการป้องกันข่าวเท็จข่าวปลอมที่จะสร้างความแตกแยกในวงการศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย.
"โครงการอินทผลัมสัมพันธ์สร้างสรรค์พหุวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๕ (รอมฎอน ๑๔๔๓)" 25​ เมษายน​ 2565​ คณะส่งเสริมสังคมสังคมพหุวัฒนธรรมฝ่ายมุสลิม​ ประกอบด้วย​ อิหม่าม​ ผศ.ดร.อับดุลเลาะ​ หนุ่มสุข (ผู้อำนวยการสถาบันวะสะฏียะห์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา​ สำนักจุฬาราชมนตรี) (ฝ่ายส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม​ คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร) (อิหม่ามประจำมัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา)) นายสมัย​ เจริญช่าง​ (กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย) ศ.ดร.กนก​ วงศ์ตระหง่าน​ (ที่ปรึกษาสถาบันวะสะฏียะห์ฯ) อิหม่ามวุฒิวัย​ หวังบู่​ (กรรมการอิสลามประจำ​ กรุงเทพมหานคร) อาจารย์มูฮัมหมัดเฟาซี​ แยนา (เลขานุการสถาบันวะสะฏียะห์ฯ) น.ท.นาวิน​ สาสนกูล (อิหม่ามมัสยิดกูวะติลอิสลาม) นายอิธวัฒน์​ พิทักษ์คุมพล นางกุสุมา​ โยธาสมุทร และคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกริก​ ได้เข้าเยี่ยมคารวะพระเถรชั้นผู้ใหญ่​ พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร.(ประยูร​ ธมฺมจิตโต)​ เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาส​ วรวิหาร​ กรรมการมหาเถรสมาคม​ ประธานกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ​ เนื่องในโอกาสเดือนรอมฎอน(เดือนแห่งการถือศีลปฏิบัติธรรมของชาวมุสลิม) คณะผู้เข้าเยี่ยมได้ถวายอิทผลัม หนังสือทางวิชาการ​ และวารสารมุสลิม​ กทม.นิวส์ แก่พระคุณเจ้า​ พร้อมทั้งได้สนทนาธรรมอันดีงาม​ โดยพระพรหมบัณฑิต​ ได้กรุณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมของศาสนาในการสร้างสันติภาพในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม​ ศาสนิกชนควรจะรู้หลักธรรมและการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถืออย่างถ่องแท้​ และก็รู้หลักธรรมคำสอนและการปฏิบัติของศาสนาอื่นที่เพื่อนนับถือด้วย​ ควรจะทำกิจกรรมร่วมกันในกิจกรรมที่แต่ละฝ่ายสามารถทำร่วมกันได้​ โดยใช้วิกฤติของสังคม​ เช่นปัญหาโลกร้อน​ ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด​ ปัญหาเยาวชน​ นอกจากนี้ควรมีคนกลางเช่นรัฐบาลในการจัดพูดคุยสานเสวนาระหว่างผู้นำแต่ละศาสนาร่วมกันให้จริงจังและต่อเนื่อง​ เช่นที่ประเทศคาซัคสถาน​ ได้ทำสำเร็จมาแล้วในการสร้างความปรองดองของคนในชาติหลังจากที่เคยเกิดความแบ่งแยกในเรื่องศาสนากันมาแล้ว​ อีกประการหนึ่งคือชุมชนต้องต่างฝ่ายต่างต้องร่วมมือกันเช่นจัดกิจกรรมแก้ปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือนในชุมชนด้วยกันจัดกิจกรรมค้าขายอาหารของสมาชิกในชุมชน​ ตัวอย่างที่ทำแล้วคือ​ ชุมชนวัดประยูรวงศาวาส, ชุมชนกุฎีจีน(คริสต์), ชุมชนมัสยิดบางหลวงกุฎีขาว, ชุมชนวัดกัลยานฤมิตร, ชุมชนมัสยิดกูวะติลอิสลาม(มัสยิดตึกแดง)​ เป็นต้น ในโอกาสนี้พระพรหมบัณฑิต​ ได้มอบหนังสือประวัติวัดประยูรวงศาวาส​ วรวิหาร​ และหนังสือธรรมที่ท่านเขียนขึ้นให้แก่คณะผู้เข้าเยี่ยมในครั้งนี้ด้วย

เกียรติบัตร
รายงานผลการดำเนินงาน
ฐานะการเงิน ปี พ.ศ. 2564
 


โล่เกียรติคุณ "อิหม่ามผู้พัฒนานวัตวิถี

 

 

 12 สิงหาคม 2566 นายอรุณ บุญชม ผู้แทนจุฬาราชมนตรี พร้อมด้วย ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข (ผู้อำนวยการสถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา สำนักจุฬาราชมนตรี) เข้าร่วมประชุม เรื่อง "การสื่อสารเชื่อมโยงและการบูรณาการขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและการฟัตวาของโลกมุสลิม " ภายใต้สโลแกน " การสื่อสารและบูรณาการทางศาสนา" (التواصل والتكامل) ณ นครมักกะฮ์ ระหว่างวันที่ 13 - 14 สิงหาคม 2566 ตามคำเชิญจากกระทรวงกิจการศาสนาอิสลามและการเผยแผ่ แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 150 คน จาก 85 ประเทศ ในโอกาสนี้คณะผู้แทนจุฬาราชมนตรี อาจารย์อรุณ บุญชม และ ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข ได้รับเกียรติให้เข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงกิจการอิสลามและการเผยแผ่ ดร.อับดุลละฏีฟ อิบน อับดุลอะซีซ อาลิชเชค ในช่วงบ่ายของวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ณ สำนักงานรัฐมนตรีฯ ในโรงแรมฮิลตันฯ โดยท่านรัฐมนตรีได้แสดงความปรารถนาดีต่อมุสลิมในประเทศไทย และให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานด้านการเผยแผ่ และพร้อมที่จะสนับสนุนในกิจการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องมุสลิม การประชุมได้สิ้นสุดลงเมื่อบ่ายของวันที่ 14 สิงหาคม 2566 โดย ท่านปลัดกระทรวงกิจการอิสลามฯ ดร.เอาวาด อิบนซับฏี อัลอะนะซีย์ ได้อ่านแถลงการณ์ สำนักข่าวซาอุดีอาระเบีย (SPA) รายงานว่า การประชุมเรื่องการสื่อสารเชื่อมโยง และการบูรณาการขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและการฟัตวาของโลกมุสลิม ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ที่ประชุมได้แบ่งการประชุมเป็น 7 หัวข้อและมีข้อสรุปหลัก ๆ ดังนี้ 1. การสื่อสารควรมีเป้าหมายเพื่อการรับใช้อิสลามและมุสลิมและส่งเสริมความสามัคคีของโลกอิสลาม 2. องค์กรด้านศาสนาต้องมีการสื่อสารและมีการบูณาการระหว่างกัน 3. องค์กรศาสนาควรส่งเสริมความมีใจกว้าง ยอมรับความแตกต่างและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นของสมาชิกในสังคม 4. การให้ความสำคัญในการสอนตามเป้าหมายแห่งอัลกุรอานและซุนนะฮ์ของท่านศาสดา ﷺ ด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างถึงแก่น 5. การส่งเสริมหลักความสายกลาง (วะสะฏียะฮ์) ตามโองการแห่งอัลกุรอานและซุนนะฮ์ 6. การมีความเพียรพยายามร่วมกันในการต่อสู้กับแนวคิดสุดโต่งและการก่อการร้าย 7. การร่วมกันปกป้องสังคมจากแนวคิดที่ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า (Athesim) และความเสื่อมต่อการศรัทธาในพระเจ้า (Decadence) ที่ประชุมยังได้เน้นย้ำความร่วมมือขององค์การด้านศาสนาในด้านการสื่อสารและการมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อบรรลุจุดประสงค์สูงสุด (ultimate goal) คือความเป็นปึกแผ่นของโลกมุสลิม นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เน้นย้ำการมีฟัตวาด้วยหลักชารีอะฮ์ที่สอดคล้องกัน การมีข้อสรุปด้วยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและป้องกันการออกฟัตวาที่ผิดปกติและแหวกแนว (Abnormal fatwas) ( فتاوى شاذة ) สุดท้าย ที่ประชุมได้เสนอแนะให้มีการฝึกอบรมอิหม่ามและคอเต็บเพื่อร่วมกันแก้ไขแนวคิดแบบสุดโต่งที่ทำให้ภาพลักษณ์ของอิสลามผิดเพี้ยน และการร่วมกันปกป้องศาสนาและสังคมจากกลุ่มที่สร้างความเกลียดชังต่ออิสลามและมุสลิม

 

Contact us / ติดต่อเรา

มัสยิดดารุ๊ลอีบาด๊ะห์ (สามวา)

เลขที่ 52 ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 38

แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา

กรุงเทพมหานคร 10510

darul.samwa@gmail.com

Tel : 081-331-1611, 081-557-5742, 085-140-6388

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้