Last updated: 14 มิ.ย. 2566 | 1426 จำนวนผู้เข้าชม |
มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์สังคมที่ประเสริฐที่สุดเนื่องจากพระเจ้าได้สร้างมนุษย์ให้เป็นผู้มีสติปัญญามความคิดสร้างสรรค์ และมีความรับ
ผิดชอบ
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวมนุษย์จึงมีสัญชาติญาณใฝ่สันติมากกว่าความรุนแรง สัญชาตญาณนี้ได้เกื้อหนุนในมนุษย์แสวงหาความเป็นมิตรมาก
กว่าความเป็นศัตรูแสวงหาความสามัคปรองดองมากกว่าความแตกแยก และแสวงหาความมั่นคงปลอดภัยมากกว่าการประทุษร้าย และเข่นฆ่า
ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจึงมีช่วงระยะเวลาแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติมากกว่า ช่วงระยะเวลาของการสู้รบ และการนองเลือสัญชาตญาณใฝ่สันติของมนุษย์ดังกล่าวเป็นสันชาตญาณ เดิมอันบริสุทธ์ที่องค์พระผู้อภิบาลไดเนรมิต และสร้างสรรค์ไว้ในตัวของมนุษย์
และยังได้หนุนเสริมสัญชาตญาณของมนุษย์ดังกล่าวด้วยแนวทางอิสลาม แนวทางแห่งความมั่นคง ความปลอดภัย ความสันติ และความสมานฉันท์ ผ่านทางศาสนทูตต่างๆที่พระองค์ได้
ทรงคัดเลือกและแต่งตั้งเขาเหล่านั้นยังหมู่ชนทั้งหลายและผ่านทางคัมภีร์ต่างๆที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาจากฟากฟ้าอันมีคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้าย
คำว่า สันติภาพไม่ใช่เรื่องแปลกใหมในสายตาของมุสลิมมันเป็นสิ่งที่ถูกฝังแน่นและซึมลึกเข้าไปในจิตวิญญาณเลือดเนื้อและชีวิตของมุสลิม
“สันติภาพ” เป็นคำสอนและอุดมการณ์ที่ได้กลายเป็นความเชื่อมั่นศรัทธาประการหนึ่งของมุสลิม
อิสลามได้ดำเนินบทบาทในการแผ่ขยายคำว่า“สลาม”แปลว่า“สันติ”ให้ขจรขจายไปทั่วทุกมุมโลก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า คำนี้ เป็นเป้าหมายสำคัญของชีวิตมนุษย์ นั่นก็คือความสงบสุขอย่างแท้จริงทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
”สลาม” หรือ “สันติ” คำที่ถูกกล่าวถึงมากในอิสลาม
หนึ่งในคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์และความโดดเด่นของอิสลาม ก็คือ การให้ความสำคัญ กับ คำว่า “สลาม” ซึ่งมีความหมายว่า “สงบ สันติ ผ่องแผ้ว ปลอดภัยและมีความผาสุข” คำนี้จะถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งในอัล-กุรอานและหะดีษ ในทุกบริบทและมิติ
หนึ่งในพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงทรงประทานศาสนานี้ ก็คือ “อัส-สลาม” หมายถึง ผู้ทรงให้ความปลอดภัเพราะพระองค์ประสงค์จะให้เกิดความปลอดภัย ความสุขและสงบผ่องแผ้วแก่จิใจมวลมนุษยชาติทั้งหลายโดยการประทาน
ศาสนบัญญัติอันบริสุทธิ์ ให้มวลมนุษย์ได้ยึดถือและปฏิบัติ
ดังนั้น ผู้ที่ชูธงศาสนานี้ ไม่ว่าจะเป็นมุสลิม อุลามาอ์ (ผู้รู้) นักดะวะฮ (นักเผยแผ่ศาสนา) นักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวเพื่ออิสลาม ล้วนเป็นผู้ที่ชูธง “สลาม (สันติ) ” และ “ความปลอดภัยอัน ไปมอบแก่คนทั้งโลก
ในการอธิบายถึงภารกิจของศาสดา ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ได้กล่าวว่า ...
“แท้จริงฉันนี้เป็นความเมตตากรุณาอย่างหนึ่ง อันเป็นรางวัลที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานมาให้แก่ (สิ่งถูกสร้าง) ทั้งหลาย”อัล-กุรอานได้อธิบายถึง “ศาสดาผู้ประกาศสาส์นอิสลาม” ไว้ว่า
{ وَمَآ أَرۡسَلۡنَٰكَ إِلَّا رَحۡمَةٗ لِّلۡعَٰلَمِينَ }
[ซูเราะฮฺ Al-Anbiyāʾ: 107]
และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลา(ซูเราะฮ อัล-อัมบียาอ์ : 107)
ในหลักคำสอนอิสลามจึงประกอบไปคุณค่าต่างๆที่เกื้อหนุนให้เกิดสันติภาพ ความสงบสุขนอกจากการเรียกร้องเชิญชวนและสั่งสอนในเรื่องสันติภาพแล้ว อิสลามยังได้บัญญัติให้อุดมการณ์นี้เป็นมูลรากฐานแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกลุ่มบุคคลองค์กรและประเทศ
ต่างๆอีกด้วย
หลักการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิม ก็คือ ความเสมอภาคและภราดรภาพ นั่นก็คือ ควานสันติสงบสุข และปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเมตตาและเอื้ออาทรต่อกัน
อิสลามได้สั่งสอนให้มนุษย์ทุกคนเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ สิทธิในชีวิต ทรัพย์สิน การเลือกวิถีชีวิตและการนับถือศาสนาต้องได้รับการคุ้มครองและจะละเมิดไม่ได้ ภายใต้หลักการที่ว่า
“เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนา ภาษา สีผิวและเชื้อชาติ”
อัลลอฮ์ ตรัสว่า...
{ ۞وَلَقَدۡ كَرَّمۡنَا بَنِيٓ ءَادَمَ وَحَمَلۡنَٰهُمۡ فِي ٱلۡبَرِّ وَٱلۡبَحۡرِ وَرَزَقۡنَٰهُم مِّنَ ٱلطَّيِّبَٰتِ وَفَضَّلۡنَٰهُمۡ عَلَىٰ كَثِيرٖ مِّمَّنۡ خَلَقۡنَا تَفۡضِيلٗا }
[ซูเราะฮฺ Al-Isrāʾ: 70]
ความว่า: "และโดยแน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม และเราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล และได้ให้ปัจจัยยังชีพที่ดีทั้งหลายแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขาดีเด่นอย่างมีเกียรติเหนือกว่าผู้ที่เราได้ให้บังเกิดมาเป็นส่วนใหญ่"
(ซูเราะฮ อัล-อิสรออ์ : 70)
หลักความยุติธรรมเป็นหลักการสำคัญในกระบวนการสันติภาพ และอาจถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขที่สำคัญเลยทีเดียวเนื่องจากการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆทั้งในอดีต และปัจจุบัน ล้วนมีสาเหตุมาจากความไม่เป็นธรรม
ทั้งสิ้นด้วยเหตุนี้อัลกุรอานจึงได้ให้ความสำคัญกับหลักของความยุติธรรม โดยระบุไว้ในหลายโองการ และหลายสำนวน เช่น :
ก.) สำนวน "عَدْل " ปรากฏใน (4:58 – 16:76,90 49:9)
ข.) สำนวน " أَعْدِلُوا " ปรากฏใน (5:18 – 6:152)
ค.) สำนวน " تَعْدِلُوْا " ปรากฏใน (5:8)
ตัวอย่างความยุติธรรมที่ผู้นำต้องรับ
ผิดชอบ
อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า: ( وَأُمِرْتُ لِأَعْدِلَ بَيْنَكُمُ )
(15) سورة الشورى
“และฉัน (มูฮัมหมัด) ได้รับคำสั่งให้ยุติธรรมระหว่างพวกท่าน” (42:15)
ตัวอย่างความยุติธรรมที่ต้องมีกับศัตรู หรือคู่อริ
อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า :
( وَلاَ يَجْرِمَنَّكُمْ شَنَآنُ قَوْمٍ عَلَى أَلاَّ تَعْدِلُواْ اعْدِلُواْ هُوَ أَقْرَبُ لِلتَّقْوَى
( 8) سورة المائدة
ความว่า “และจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใด ทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า” (5:8)
ดังกล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นหลักสัติภาพที่สำคัญ
ของอัลกุรอานที่อัลลอฮฺได้บัญญัติใว้เพื่อให้มนุษยได้ใช้เป็นหลักยึดถือ และปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ในการสร้างความสงบสุข
:
อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า :
( لَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ أَن تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ ) (8) سورة الممتحنة
“อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับ
บรรดา (ชนต่างศาสนิก) ที่มิได้รุกรานพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม” (60:8)
ข้อวิเคราะห์ที่ 1
โองการนี้ได้ใช้ให้ท่านนบี และเศาะหาบะฮฺปฏิบัติดีกับ เผ่าคุซาอะฮฺ และบะนูอัลหาริษ ซึ่งเป็นชนต่างศาสนิกที่ได้ทำสัญญาสงบศึกกับท่านนบี และเหล่าเศาะหาบะฮฺ ว่าจะอยู่ร่วมกัน
อย่างสันติ
(ดูอัลกุรฎบีย 1985 18 / 59)
โองการนี้แม้ว่าจะประทานลงมาเกี่ยวกับกลุ่มคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่บัญญัติของเรื่องนี้ครอบคลุมทุกกลุ่มคนที่มีลักษณะเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกัน ตามหลัก (กออิดะฮฺ )ของนักอรรถาธิบายอัลกุรอาน (มุฟัสสิรีน) ที่ว่า :
" العِبْرَةُ بعُموم اللفْظ لا بخُصوصِ السَّبب "
“การพิจารณาอัลกุรอานนั้นให้ พิจารณาถึงความหมายที่ครอบคลุมของถ้อยคำ มิใช่พิจารณาที่สาเหตุ หรือภูมิหลังเป็นการเฉพาะ” (ดูอัสสุยูฏียฺ มปป. 2/28)
ดังนั้นโองการนี้จึงสามารถนำมาใช้กับมุสลิมโดยทั่วไปในสองสถานะ คือ :
ก.) มุสลิมที่เป็นชนส่วนน้อยของประเทศ ซึ่งชนส่วนใหญ่ต่างศาสนิกมิได้ต่อต้านรุกราน หรือเข่นฆ่า และมิได้ขับไล่ไสส่งออกนอกมาตุภูมิ
ข.) มุสลิมที่มิใช่เป็นชนส่วนน้อยของประเทศ แต่มีสัญญาตกลงในข้อกฎหมายที่จะอยู่ร่วมกันกับชนต่างศาสนิกอย่างสันติ
มุสลิมที่อยู่ในสองสถานะดังกล่าวจำเป็นต้องปฏิบัติตามบัญญัติของโองการนี้ทั้งสิ้น
ข้อวิเคราะห์ที่ 2
ชนต่างศาสนิกที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงในโองการนี้คือชนต่างศาสนิกที่ไม่มีพฤติกรรมเป็นภัยร้ายแรงต่อมุสลิมโดยอัลลอฮฺได้ระบุไว้สองประการสำคัญ คือ :
1.)
" لم يقاتلوكم في الدين
"ไม่ทำสงครามศาสนา หมายถึงไม่คุกคาม หรือต่อต้านในเรื่องสิทธิทางศาสนา
2.)
" لم يخرجوكم من دياركم "ไม่ขับไล่ออกจากมาตุภูมิ หมายถึงไม่คุกคามในเรื่องสิทธิของที่อยู่อาศัย
สำหรับชนต่างศาสนิกที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อมุสลิมในสองประการข้างต้น อัลลอฮฺได้บัญญัติห้ามการผูกมิตรกับพวกเขาในโองการถัดมา คือ :
( إِنَّمَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ قَاتَلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَأَخْرَجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ وَظَاهَرُوا عَلَى إِخْرَاجِكُمْ أَن تَوَلَّوْهُمْ وَمَن يَتَوَلَّهُمْ فَأُوْلَئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ ) (9) سورة الممتحنة
“อัลลอฮฺเพียงแต่ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้รุกรานพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า และช่วยเหลือ (ผู้อื่น) ในการขับไล่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะผูกมิตรกับพวกเขา และผู้ใดผูกมิตรกับพวกเขา ชนเหล่านั้นเป็นผู้อธรรม” (60:9)
ข้อวิเคราะห์ที่ 3
อัลลอฮฺได้ระบุถึงองค์ประกอบสำคัญ
ของความสมานฉันท์ระหว่างมุสลิม กับชนต่างศาสนิกไว้สองประการ คือ :
1.)
البِر ّหมายถึงการปฏิบัติดีต่อกัน คำนี้ปรากฏในอัลกุรอานทั้งหมด 8 ที่ คือ :
(2:44, 177, 177, 189, 189 3:92 5:2 58:9)
และคำ ในความหมายเดียวกัน มีปรากฏใน
(2:224)
2.)
القِسْطหมายถึงการให้ความยุติธรรม คำนี้ปรากฏในอัลกุรอานทั้งหมด 15 ที่ คือ :
(3:18, 21 4:127, 135 5:8,42 6:152 7:29 10:4, 47, 54 11:85 21:47 55:9 57:25)
และคำที่แตกออกไป ซึ่งสื่อความหมายเดียวกัน เช่น:
ก. تُقْسِطُوْا(4:3)
ข. أقْسِطُوْا (49:9)
ค. القاسِطُوْن(72:14, 15)
ง. أَقْسَطُ(22:282 33:15)
จ. المُقْسِطِيْنَ (5:42 49:9 60:8)
ทั้ง البر (การปฏิบัติดี)และ القسط (การให้ความเป็นธรรม) ล้วนเป็นคุณธรรมที่สำคัญที่มนุษย์พึงหยิบยื่นให้กันและกัน เพื่อความสมานฉันท์ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ข้อวิเคราะห์ที่ 4
อัลลอฮฺได้จบโองการนี้ด้วยการชื่นชมผู้ที่ปฏิบัติดี และมีความยุติธรรม ต่อชนต่างศาสนิก ด้วยคำว่า:
إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ ) )
“แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม”
ประโยคนี้ แม้ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า خَبَرية แต่ความหมายของประโยคมิใช่บอกเล่า แต่เป็นเหมือนคำสั่ง " إنْشَائِية " กล่าวคือ
อัลลอฮฺทรงต้องการให้มุสลิมปฏิบัติดี และมีความยุติธรรมต่อชนต่างศาสนิกที่มีพฤติกรรมดังกล่าว เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรัก และแน่นอนความรักของอัลลอฮฺเป็นยอดปรารถนาของมุสลิมทุกคน
ข้อวิเคราะห์ที่ 5
การปฏิบัติดี และการมีความยุติธรรมในโองการนี้ไม่ขัดแย้งกับข้อห้ามในเรื่องของ วะลาอ ولاء ในโองการของอัลลอฮฺที่ว่า :
( يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَتَّخِذُواْ الْكَافِرِينَ أَوْلِيَاء مِن دُونِ الْمُؤْمِنِينَ )
( 144 ) سورة النساء
“โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าได้ยึดเอาบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเป็นมิตร อื่นไปจากผู้ศรัทธาทั้งหลาย” (4:144) ดูโองการที่มีความหมายใกล้เคียงกันใน (3:28 4:89, 139 5:51 9:23 3:118)
เนื่องจากสามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ
1.) ผู้ปฏิเสธศรัทธา หรือชนต่างศาสนิกใน
โองการต่างๆดังกล่าว มิใช่เป็นชนต่างศาสนิกที่กล่าวถึงในโองการอัลมุมตะหินะฮฺ (60:8) แต่เป็นชนต่างศาสนิกที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงในโองการถัดมา อัลมุมตะหินะฮฺ (60:9)
2.) การสร้างความสมานฉันท์ในรูปของ البر และ القسط นั้นแตกต่างจากเรื่องของ "الولاء "
กล่าวคือ เรื่องแรกเป็นเรื่องของมนุษย์สัมพันธ์ ที่มุสลิมทุกคนพึงปฏิบัติต่อชนต่างศาสนิก สอดคล้องกับอัลหะดีษที่ท่านร่อซู้ล (ศ้อลลั้ลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า:
" وخا لِق الناسَ بخُلق حَسَن "
“และเจ้าจงคบกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกิริยามารยาทที่ดีงาม” (อัตติรมีซีย์ หมายเลข 1987 เป็นหะดีษหะสันศอเหี้ยะห์)
ส่วนเรื่องที่สอง คือ เรื่อง วะลาอฺ นั้นเป็นเรื่องของการเป็นมิตรสนิท ที่มีลักษณะพิเศษของ ความรัก ความเคารพ และการสวามิภักดิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺจึงได้บัญญัติห้ามไว้ในหลายโองการที่กล่าวมา (ดูมูฮัมหมัด นุอัยมฺ ยาซีน 1398 หน้า 145)
บทส่งท้าย
แม้ว่าความขัดแย้งจะเป็นธรรมชาติของมนุษย์
์ในการอยู่ร่วมกัน แต่อิสลามก็กำหนดให้มนุษย์หาทางออกด้วยวิธีการที่นำไปสู่ความสมานฉันท์ความสันติเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในหมู่มุสลิม
5 ต.ค. 2562
17 ก.ย. 2562
17 ก.ย. 2562
17 ก.ย. 2562